ฌาปนกิจศพ

Chumphon Ms Funeral servicesงานฌาปนกิจ

  • งานฌาปนกิจ ศพ คืออะไร มาทำความเข้าใจกัน

งานฌาปนกิจ ศพ หรือเรียกอีกอย่างว่า การจัดงานศพ นั้นเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งในศาสนาพุทธ ที่จัดขึ้นเมื่อมีคนเสียชีวิต ซึ่งภายในงานจะมีพระสงฆ์คอยทำ พิธีสวดพระอภิธรรม ตามจำนวนวันที่ทางเจ้าภาพกำหนด ทั้ง 1 วัน 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน

แล้วหลังจากนั้น ก็จะทำการฌาปนกิจศพ เพื่อส่งดวงวิญญาณให้ไปยังพบภูมิที่ดี ถือเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีฌาปนกิจศพ ซึ่งการทำฌาปนกิจศพ อาจจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่โดยรวมมีขั้นตอนคล้ายกันทั้งหมด

  • ความสำคัญของการจัด งานฌาปนกิจ ศพ ในรูปแบบต่าง ๆ

การจัดงานฌาปนกิจ นั้นเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดงานศพ ของศาสนาพุทธที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ชาวพุทธทำพิธีเผาร่างไร้วิญญาณเพื่อส่งวิญญาณไปสู่สรวงสวรรค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์การจัดการศพตามแบบของชาวพุทธ

โดยก่อนที่จะทำการฌาปนกิจศพ นั้นจะมีพิธีการจัดงานศพ ขึ้นมาก่อน โดยจะมีการสวดอภิธรรม จนครบกำหนดตามความตั้งใจของญาติ ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจ ซึ่งใจความสำคัญของการฌาปนกิจ คือ การสื่อไปถึงการทำความเข้าใจในร่างกายของคนเราว่า “ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ถาวร ทุก ๆ คนล้วนต้องตายเป็นเรื่องธรรมดา”

  • ขั้นตอนการจัดงานศพ ตามแบบฉบับชาวพุทธของไทย

โดยปกติแล้วคนไทยจะมีขั้นตอนการจัดงานศพ ก่อน งานฌาปนกิจ มีขั้นตอนดังนี้ อาบน้ำศพ, แต่งตัวแต่งหน้าศพ, รดน้ำศพ และ การสวดอภิธรรม ก่อนที่จะเผา ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการประกอบพิธีศพ

โดยทางเจ้าภาพจะเป็นผู้กำหนดว่า ต้องการให้มีการจัดพิธีกี่วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1 วัน, 3 วัน, 5 วัน, 7 ในแต่ละวันจะมีพระสงฆ์มาสวดอภิธรรม จนกว่าจะถึงวันเผาศพ

  • ขั้นตอนการจัดงานฌาปนกิจ

สำหรับในวันฌาปนกิจศพ นั้นทางเจ้าภาพจะทำการย้ายศพขึ้นไปสู่เมรุเผาศพ โดยมีขั้นตอนและวิธีการดังนี้

1. ทำพิธีเคลื่อนศพขึ้นสู่เมรุเผาศพ ที่ตกแต่งเรียบร้อย โดยมีขั้นตอนการล้างศพด้วยน้ำมะพร้าว

2. จัดเตรียมโต๊ะสำหรับทอดผ้าบังสุกุล

3. พิธีกรกล่าวอาราธนาเบญจศีล และดำเนินพิธีสวดมาติกา ตามลำดับ

4. เจ้าภาพและแขก ทอดผ้าบังสุกุล จนครบ

5. พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล

6. พิธีกรเชิญ ประธาน ทอดผ้าไตรบังสุกุล ตามลำดับ

7. นิมนต์ประธานพระสงฆ์พิจารณ์ผ้าไตรบังสุกุล ตามลำดับ

8. เจ้าภาพถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์

9. เจ้าภาพและญาติของตายทำพิธีขอขมาศพที่หน้าเมรุ

10. เปิดให้ญาติแขกผู้มาร่วมงานวางดอกไม้จันทน์

11. ประชุมเพลิงศพ ตามเวลา

12. พระสงฆ์สวดหน้าไฟ

  • ทำไมถึงต้องมีบริการ รับจัดงานฌาปนกิจ แบบครบวงจร

เนื่องจากในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ไม่คุ้นชินกับพิธี หรือการจัดงานศพ และไม่ต้องการความยุ่งยากในการจัดการงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง จึงต้องการหาผู้ช่วยจัดการงานศพ ที่มีความเชี่ยวชาญ ในด้านการจัดการงานศพมาดูแลแทน เพื่อที่งานจะได้ออกมาดีที่สุด

ทำให้มีเวลาดูแลญาติหรือ ต้อนรับแขกผู้มาร่วมแสดงความเสียใจให้ได้ดีที่สุด ซึ่งบริการรับจัดงานศพ จะช่วยดูแลจัดการทุกเรื่อง ในการจัดการงานศพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการติดต่อสถานที่จัดงานศพ เคลื่อนย้ายศพ แต่งหน้าศพ ฉีดยาศพ อาหาร อุปกรณ์ภายในงาน โลงศพ ของประดับตกแต่งภายในงาน รวมไปถึงการจัดขั้นตอนพิธีต่าง ๆ อย่างถูกต้องตามหลักศาสนา

จะเห็นได้ว่าการจัด งานฌาปนกิจ ในรูปแบบของคนไทยนั้น จะมีขั้นตอนในการจัดงานที่ค่อนข้างซับซ้อน และมีขั้นตอนพิธีการที่ละเอียด ฉะนั้นเพื่อเป็นการดีและสะดวก แนะนำให้คุณเลือกใช้บริการรับจัดงานศพ ที่จะช่วยจัดการทุกเรื่องแทนคุณได้อย่างลงตัว สนใจติดต่อ บริการรับจัดงานศพ แบบครบวงจร ติดต่อ MS Funeral Services

ผู้ให้บริการ รับจัดงานฌาปนกิจ แบบครบวงจร

ในกรณีที่เจ้าภาพไม่สะดวกจะดำเนินการเอง และ ต้องการความสะดวกในการจัดงานสวดพระอภิธรรม …สามารถติดต่อผ่านเรา…เพื่อมอบให้เราบริหารจัดการงานให้ทั้งหมด จบในที่เดียว เราคือผู้ให้บริการรับจัดงานศพ แบบครบวงจร เราดูแลเสมือนผู้จัดการส่วนตัวของเจ้าภาพ ภายใต้สถานการณ์อันยากลำบากนี้   

ติดต่อเราได้เลยค่ะ โทรสอบถาม ได้ตลอด 24 ชม.

ทุกอย่างเราดูแลให้ เจ้าภาพเพียงต้อนรับแขก

เบอร์โทรเพิ่มLineMs Funeral ส่งข้อความ

  ออแกไนซ์จัดงานศพ One Stop Services  

สารบัญ:

>> งานฌาปนกิจ ศพ คืออะไร มาทำความเข้าใจกัน

>> ขั้นตอนการจัดงานฌาปนกิจ

>> ดอกไม้จันทร์ งานฌาปนกิจ

>> ผ้าบังสุกุล งานฌาปนกิจ

ดอกไม้จันทร์ งานฌาปนกิจ

    ในงานฌาปนกิจ สิ่งที่เราจะใช้ในงาน คือ ดอกไม้จันทร์ ตามคติความเชื่อของชาวพุทธ “ดอกไม้จันทน์” ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเคารพและไว้อาลัย เพราะเชื่อว่ากลิ่นหอมของดอกไม้จันทน์จะนำดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปสู่สรวงสวรรค์ 

“ความเชื่อ ดอกไม้จันทน์ งานฌาปนกิจ”

งานฌาปนกิจ MS Funeral Services
บริการรับจัดงาน งานฌาปนกิจ MS Funeral Services                                        

     ห้ามหยิบให้กัน: เนื่องจากเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีไว้เพื่อส่งต่อให้ผู้วายชนม์เท่านั้น เพราะฉะนั้นการหยิบส่งต่อให้ใครก็เหมือนส่งต่อความเศร้าและความตายนั่นเอง 

     ห้ามชมว่าสวย: เพราะเปรียบเสมือนว่าคนที่ชมอยากได้ความตาย ซึ่งไม่เป็นมงคลต่อตนเอง

     ไม่ควรไหว้ในขณะที่ถือดอกไม้: ไม่ควรไหว้หรือรับไหว้ในขณะที่ถือดอกไม้อยู่ เพราะเปรียบเสมือนเรากำลังไหว้ผู้วายชนม์ไปแล้ว ถ้าจำเป็นจริง ๆ แค่โค้งคำนับหรือกล่าวทักทายกันก็พอ

ความหมายของดอกไม้จันทน์ทั้ง 7 แบบ ในงานฌาปนกิจ

  1. ดอกดารารัตน์: นิยมใช้มอบให้แก่บุคคลอันเป็นที่รัก เพื่อบอกว่าไม่เคยหวังสิ่งใดตอบแทน ชื่อดอกดารารัตน์ยังมีความหมายที่ลึกซึ้ง โดยคำว่า ดารา หมายถึง ดวงดาว คือสิ่งที่อยู่สูงสุด คำว่า รัตน์ หมายถึง แก้ว คือ สิ่งที่มีค่า
  2. ดอกชบาทิพย์: เป็นดอกไม้ที่สร้างสรรค์ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อสื่อถึงการดับสูญและความเป็นทิพย์และเพื่อเป็นการถวายความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย
  3. ดอกกุหลาบ: เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักอันบริสุทธิ์
  4. ดอกพุดตาน: เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงและความอุดมสมบูรณ์ ชาวจีนเชื่อว่าเป็นไม้มงคล ดอกพุดตานเปลี่ยนสีได้ถึงสามสีภายในวันเดียวกัน เปรียบเสมือนชีวิตมนุษย์ ที่เริ่มต้นในช่วงเด็กก็เปรียบเสมือนกับผ้าขาว เติบโตขึ้นพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้ม จนกระทั่งสูงอายุมากขึ้นพร้อมกับสีที่เข้มขึ้น จนกระทั่งร่วงโรยจากไป
  5. ดอกลิลลี่:แสดงออกถึงความรักที่บริสุทธิ์ เช่นเดียวกับดอกกุหลาบสีขาว อีกทั้งยังแสดงถึงความซื่อสัตย์และเทิดทูน ด้วยอานุภาพแห่งความจงรักภักดี
  6. ดอกกล้วยไม้:เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง ความรัก และความสง่างาม
  7. ดอกชบาหนู:เปรียบเสมือนความอาลัยในการสูญเสีย เป็นสัญลักษณ์ที่แทนดวงใจ

ข้อมูลเพิ่มเติม:

กำหนดการงานฌาปนกิจ

emoji gold  ภาพผลงานการให้ บริการ จัดงานศพ>>คลิ๊ก<<    emoji gold

ผ้าบังสุกุล งานฌาปนกิจ

จุดประสงค์ของการทอดผ้าบังสุกุล ในงานฌาปนกิจ…การทอดผ้าบังสุกุล เป็นการอุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ โดยการทอดหรือวางผ้าไตรจีวร หรือผ้าผืนใดผืนหนึ่ง ในบรรดาผ้าไตรจีวร ( จีวร สบง สังฆาฏิ ) บนภูษาโยงหรือด้ายสายโยง (สายสิญจน์) ซึ่งโยงมาจากหีบศพ โกศบรรจุอัฐิ เจดีย์บรรจุอัฐิ ชื่อผู้วายชนม์ หรือภาพของผู้วายชนม์ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์บังสุกุล

การที่ผู้ยังมีชีวิตอยู่ได้ช่วย อํานวยความสะดวก ให้แก่ผู้วายชนม์ เสมือนผู้วายชนม์ได้บําเพ็ญบุญกุศลด้วยตนเอง และเพื่อผู้ยังมีชีวิตอยู่ ได้แสดงออกต่อผู้วายชนม์เป็นครั้งสุดท้าย และเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญู ความเคารพความรักความอาลัย ตามหลักธรรมคําสอนในพระพุทธศาสนา ที่ว่าเมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทําบุญอุทิศไปให้

บทที่พระสงฆ์ใช้ชักบังสุกุล งานฌาปนกิจ

อนิจจา วะตะ สังขารา           อุปปาทะวะยะธัมมิโน

อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ          เตสัง วูปะสะโม สุโข

แปลว่า

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ

มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา

บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป

การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นความสุข

 

วิธีการเชิญผู้มีเกียรติขึ้นทอดผ้าบังสุกุล งานฌาปนกิจ

การเชิญผู้มีเกียรติขึ้นทอดผ้าบังสุกุลที่เมรุนั้น นิยมมีภาชนะสำหรับรองรับผ้าบังสุกุล เช่น พานทอง ใส่ผ้าบังสุกุล โดยถือภาชนะใส่ผ้าบังสุกุลนั้นด้วยมือทั้งสองข้างประคองเข้าไปเชิญท่านผู้มีเกียรติ ขึ้นไปทอดผ้าบังสุกุลที่เมรุครั้งละ 1 ท่าน

โดยผู้เชิญนั้น นิยมเดินเข้าไปหาท่านผู้มีเกียรติ แล้วยืนตรงโค้งคำนับกล่าวคำเชิญขึ้นไปทอดผ้าบังสุกุลที่เมรุ และควรเดินตามหลัง ผู้มีเกียรติที่ได้รับเชิญนั้นไป โดยเดินตามไปด้านซ้ายมือของท่านผู้มีเกียรตินั้น

เมื่อขึ้นถึงเมรุแล้ว ควรยืนตรง ห่างประมาณ 1 ก้าว มือทั้งสองประคองภาชนะใส่ผ้าบังสุกุล แล้วยื่นมอบให้แก่ท่านผู้มีเกียรตินั้น

ลำดับการเชิญผู้มีเกียรติ ทอดผ้าบังสุกุล งานฌาปนกิจ

การเชิญท่านผู้มีเกียรติ ขึ้นทอดผ้าบังสุกุลที่เมรุนั้น นิยมเชิญท่านผู้มีอาวุโสน้อย ไปหาท่านผู้มีอาวุโสมากขึ้นไปตามลำดับ

ซึ่งผู้ที่ได้รับเชิญมาเป็นประธานพิธีพระราชทานเพลิงศพ หรือพิธีการประชุมเพลิงศพนั้น จะนิยมเชิญขึ้นทอดผ้าบังสุกุลเป็นอันดับสุดท้าย เมื่อท่านประธานทอดผ้าบังสุกุลแล้ว ก็เชิญท่านประกอบพิธีประชุมเพลิงศพเป็นลำดับขั้นตอนต่อไป

วิธีปฏิบัติการประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ

เมื่อผู้เป็นประธานพิธีพระราชทานเพลิงศพ ขึ้นใปบนเมรุแล้วนิยมปฏิบัติ

  1. ยืนตรง โค้งคำนับศพ
  2. รับผ้าไตรบังสุกุล มาจากผู้เชิญ แล้ววางทอดถวายไว้ ณ ภาชนะที่เขาเตรียมไว้รองรับ
  3. เมื่อผู้เป็นประธานพิธีวางผ้าไตรทอดถวายแล้ว
  4. ยืนตรงโค้งคํานับศพ แล้วถอยหลีกไปยืน ณ มุมของเมรุด้านซ้ายของพระสงฆ์ที่จะขึ้นมาพิจารณาผ้าบังสุกุล เพื่อรอเวลาพระสงฆ์ขึ้นมาพิจารณาผ้าบังสุกุล
  5. ขณะที่พระสงฆ์ขึ้นมาถึงบนเมรุ ผู้เป็นประธานพิธีน้อมตัวลง ยกมือไหว้พระสงฆ์
  6. ขณะที่พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล ผู้เป็นประธานพิธีประณมมือ
  7. ขณะที่พระสงฆ์จะลงจากเมรุไป ผู้เป็นประธานพิธีนิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้พระสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง

 

ต่อจากนั้น ผู้เป็นประธานพิธีพระราชทานเพลิงศพ เริ่มการประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพนิยมปฏิบัติดังนี้

  1. ผู้เป็นประธานพิธียืนหันหน้าไปทางทิศที่ตั้งพระราชวังที่ในหลวงประทับอยู่ ยืนตรงโค้งคํานับถวายความเคารพในหลวง แล้วหันกลับมาทางที่ตั้งศพ
  2. รับเครื่องสักการบูชาศพ จากเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง แล้ววางเคารพศพที่เชิงตะกอน
  3. ยืนตรงโค้งคำนับศพ แล้วรับดอกไม้จันทน์ มาจุดที่ไฟหลวงวางที่เชิงตะกอน แล้วหลังจากนั้นยืนตรงโค้งคำนับศพ
  4. หันหน้าไปทางทิศที่ตั้งพระราชวังที่ในหลวงประทับอยู่ ยืนตรงโค้งคำนับถวายความเคารพในหลวงอีกครั้งหนึ่ง แล้วเดินลงจากเมรุ เป็นเสร็จการประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ