เจ้าภาพต้องเตรียมอะไรบ้าง เมื่อเลือกใช้บริการ “ออแกไนซ์เซอร์ จัดงานศพ”
ในการเลือกใช้บริการจัดงานศพกับเรา ทางเจ้าภาพอาจมีข้อสงสัย ว่าเมื่อเลือกใช้บริการแบบเหมาจ่าย หรือ ตามแพคเกจจัดงานศพแบบมาตรฐาน เช่น สวดอภิธรรม 3, 5 หรือ 7 คืน ทางเจ้าภาพจะต้องทำอะไรบ้าง ซองพระต้องเตรียมมั๊ย Etc., เราขอสรุปรายละเอียด เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
เจ้าภาพต้องเตรียมอะไรบ้างเพื่อใช้จัดงานศพ
- สำเนาใบมรณะบัตร 1 ใบ
- ต้องการจัด พิธีพระราชทานเพลิงศพ หรือ พิธีปกติ
- ไฟล์รูปถ่าย ที่ต้องการใช้ตั้งหน้าหีบ หากเจ้าภาพจัดเตรียมภาพมาเอง ไม่ต้องเตรียมไฟล์ภาพ คะ
- ชื่อ/ยศ วัน เดือน ปี เกิด ของผู้วายชนต์ และ วันที่เสียชีวิต
- จำนวณวันที่ตั้งใจจัดพิธีบำเพ็ญกุศล หรือ สวดอภิธรรม
- สถานที่ ที่ต้องการจัดงาน
- จำนวนแขกที่คาดว่าจะมาร่วมงาน
- ประวัติผู้วายชนต์ ( สามารถแจ้งวันสุดท้าย ของการสวดอภิธรรม )
- สถานที่ ที่ตั้งใจนำอัฐิผู้วายชนต์ไปลอยอังคาร
ออแกไนซ์เซอร์จัดงานศพ เตรียมอะไรหรือดำเนินการจัดงานศพ อย่างไรให้บ้าง
หลังจากทางเราได้รับข้อมูลเบื้องต้น ตามรายละเอียดด้านบน เราจะดำเนินการ ตั้งแต่ จองศาลา ไปรับร่างผู้วายชนต์ แต่งหน้า จนถึง ขั้นตอนสุดท้าย คือ ลอยอังคาร รายละเอียดทั้งหมด คลิ๊กตาม Link ด้านล่างเลยคะ
- สวดอภิธรรม 3 คืน
- สวดอภิธรรม 5 คืน
- สวดอภิธรรม 7 คืน
ใช้บริการ “ออแกไนซ์เซอร์ จัดงานศพ” กับ “จัดงานศพด้วยตัวเอง” ค่าใช้จ่ายแตกต่างกันหรือไม่ ???
จากประสบการณ์ในการให้บริการจัดงานศพ…หลังจากการให้บริการทุกครั้ง เราจะมีการสอบถามลูกค้าถึงรายละเอียดของค่าใช้จ่าย และ ความสะดวกสบายที่ได้รับ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ของเรา จะเป็นลูกค้าที่มีการใช้บริการซ้ำ และบอกต่อ
- ค่าใช้จ่าย ลูกค้าทุกคนโดยเฉพาะท่านที่มีประสบการณ์ จัดงานศพด้วยตัวเองมาแล้ว ลูกค้าบอกว่าถูกกว่าจัดเองเล็กน้อย แต่ สิ่งที่ได้คือ “ไม่เหนื่อย” และไม่ต้องลางานยังสามารถไปทำงานได้ตามปกติ หลังเลิกงานก็สามารถไปงานต่อได้เลย และไม่ต้องกังวลในส่วนของพิธีกรรม หรือจัดเตรียมงาน
เหตุผล: ที่ราคาต่ำกว่าจัดงานศพด้วยตัวเอง ก็เพราะว่า เรามีดิวเลอร์ และเราคัดเลือกมาแล้ว สามารถควบคุมงบประมาณได้ทุกขั้นตอนของการจัดงานโดยอาศัยประสบการณ์ และการเก็บข้อมูล
สารบัญ:
1. เจ้าภาพต้องเตรียมอะไรบ้าง เมื่อเลือกใช้บริการ “ออแกไนซ์เซอร์ จัดงานศพ”
2. ใช้บริการ “ออแกไนซ์เซอร์ จัดงานศพ” กับ จัดงานศพด้วยตัวเอง ค่าใช้จ่ายแตกต่างกันหรือไม่ ???
3. สรุป 7 ขั้นตอนจัดงานศพ “ออแกไนซ์เซอร์จัดงานศพ” ดำเนินการให้มีดังนี้
4. เจ้าภาพต้องเตรียมอะไรบ้าง เมื่อต้องการจัดงาน “ทำบุญครบรอบวันตาย” กับเรา
ติดต่อเราได้เลยค่ะ โทรสอบถามได้ตลอด 24 ชม.
“ทุกอย่างเราดูแลให้ เจ้าภาพเพียงต้อนรับแขก”
พื่นที่การให้บริการของเรา
สรุป 7 ขั้นตอนจัดงานศพ “ออแกไนซ์เซอร์จัดงานศพ” ดำเนินการให้มีดังนี้
1. สถานที่จัดงานศพ:
ทำการติดต่อวัดที่เจ้าภาพแสดงความจำนงค์ที่จะจัดงาน เพื่อนำศพมาบำเพ็ญกุศลหลังจากทางออแกไนซ์ได้ใบมรณะบัตรเรียบร้อยแล้ว หรือรายละเอียดของผู้วายชนม์จากทางญาติเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การติดต่อวัดที่ต้องการนำร่างผู้เสียชีวิตไปตั้งบำเพ็ญกุศลศพ และฌาปนกิจ เมื่อได้วัดที่ต้องการแล้ว ทางออแกไนซ์จะดำเนินการไปรับร่างผู้เสียชีวิตมาที่วัด
สิ่งสำคัญในขั้นตอนการเคลื่อนย้ายศพนั้น ควรมีญาติหรือลูกหลานของผู้เสียชีวิต ถือกระถางธูป และรูปของผู้เสียชีวิต และต้องมีการนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย 1 รูป ถือสายสิญจน์ที่โยงออกมาหน้าโลง เพื่อชักศพและนำทางดวงวิญญาณมาที่วัด
2. พิธีรดน้ำศพ และจัดร่างผู้วายชนต์บรรจุลงหีบ:
เมื่อเคลื่อนร่างมาถึงวัดแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การรดน้ำศพ แต่ก่อนที่จะรดน้ำศพ หากทางญาติมีความประสงค์ ให้ออแกไนซ์แต่งหน้าผู้วายชนม์เพื่อความดูดี เราจะดำเนินการให้ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง และควรมีการเผื่อเวลาไว้
หลังจากนั้นก็จะทำการรดน้ำศพเพื่อเป็นการขอขมาเป็นครั้งสุดท้าย โดยควรจะตั้งเตียงรดน้ำศพไว้ทางด้านซ้ายมือของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย และจัดให้โต๊ะหมู่บูชาอยู่ด้านบนของศีรษะผู้เสียชีวิต
โดยจะเป็นน้ำผสมน้ำอบ และลอยด้วยดอกดาวเรือง มะลิ และ กุหลาบ….ความเชื่อที่มีมานาน เจ้าภาพควรจุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วจึงรดน้ำศพได้ และเวลาที่เหมาะสมสำหรับพิธีนี้คือช่วง 16:00 – 17:00 น.
3. พิธีสวดอภิธรรมศพ:
ขั้นตอนนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สวดหน้าศพ ซึ่งจะมีพระดำเนินพิธีกรรมทั้งหมด 4 รูป ร่วมกับพิธีกรดำเนินพิธีการ 1 ท่าน…ซึ่งเจ้าภาพสามารถตกลงกับทาง “ออแกไนซ์เซอร์จัดงานศพ” ได้เลยว่าต้องการที่จะสวดอภิธรรมศพกี่วัน ซึ่งการสวดที่ว่านี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ โดยส่วนใหญ่เจ้าภาพมักนิยมสวดกันเป็นเลขคี่ คือ 1 คืน, 3 คืน, 5 คืน และ 7 คืน เป็นต้น
4. พิธีฌาปนกิจศพ:
เมื่อทำการสวดอภิธรรมศพเพื่ออุทิศกุศลให้ผู้ล่วงลับครบจำนวนวันที่กำหนดกับทางวัดแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องฌาปนกิจศพ หรือ เผาศพนั่นเอง การที่จะเคลื่อนย้ายศพออกจากศาลาวัด จะต้องทำการแห่ศพเวียนรอบเมรุที่จะเผาก่อน
โดยลำดับการตั้งขบวนเพื่อนำร่างผู้วายชนท์เวียนรอบเมรุมีดังนี้คือ โดยเริ่มจากบันไดทางขึ้นเมรุไปทางขวาทั้งหมด 3 รอบ
โดยขบวนแห่ควรจะเรียงลำดับตามนี้ คือ
1 . พระ 2. กระถางธูป 3. รูปภาพ 4. ศพ 5. ญาติหรือแขกที่มาร่วมพิธีกรรม
ปล. ลำดับหรือตำแหน่ง จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละวัด
5. พิธีเก็บอัฐิ:
การเก็บอัฐิ…นั้นจะมีเก็บในวันรุ่งขึ้น ออแกไนซ์จัดงานศพ จะจัดเตรียมโกศบรรจุอัฐิ น้ำอบ ดอกไม้ สบง และอาหารคาวหวานเพื่อถวายพระสงฆ์ที่มาบังสุกุลให้ โดยการเก็บอัฐิใส่โกศนั้นนิยมเก็บทั้งหมด 6 ชิ้น ได้แก่ กะโหลก 1 ชิ้น แขน 2 ชิ้น ขา 2 ชิ้น ซี่โครงหน้าอก 1 ชิ้น ส่วนอัฐิที่เหลือจำนำมารวมกัน และบรรจุใส่ลุ้งดินห่อผ้าขาวเพื่อนำไปเก็บไว้ หรือนำไปลอยแม่น้ำต่อไป
6. พิธีลอยอังคาร:
เมื่อเก็บอัฐิแล้ว เจ้าภาพส่วนใหญ่ นิยมนำเศษอัฐิไปลอยในแม่น้ำตามความเชื่อที่ว่า เมื่อนำอัฐิไปลอยน้ำ จะทำให้ผู้ล่วงลับสงบสุข มีชีวิตในอีกภพภูมิที่ร่มเย็นดั่งสายน้ำ และอีกหนึ่งความเชื่อที่ว่าร่างกายคนเราเกิดจากธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเมื่อสลายแล้วก็ควรให้กลับไปอยู่ไนที่เดิมที่เคยจากมา
7. อื่นๆ:
เช่น อาหารรับรองแขก,อาหารเลี้ยงพระ, การ์ดเชิญ, ดอกไม้ประดับหีบ / เมรุ, ของชำร่วยงานศพ หรือ อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ในการจัดงานและประกอบพิธีกรรม ทางออแกไนซ์เซอร์จัดงานศพ จะจัดเตรียมและดำเนินการให้ทั้งหมด รวมไปถึงตรวจเช็คความเรียบร้อยของงาน เพื่อการประกอบพิธีกรรมดำเนินไปอย่างเรียบร้อย
โดยสรุปก็คือ ทางออแกไนซ์เซอร์รับจัดงานศพ จะดูแลและดำเนินการให้ตั้งแต่เริ่มงานจนถึงขั้นตอนสุดท้าย คือ ลอยอังคาร และ หากต้องการทำบุญครบรอบ 7 วัน 50 วัน หรือ ทำบุญครบรอบ 100 วันทางเราก็ยินดีให้บริการ
ดำเนินงานภายใต้แนวคิดที่ว่า
“ทุกอย่างเราดูแลให้ เจ้าภาพเพียงต้อนรับแขก”
เจ้าภาพต้องเตรียมอะไรบ้าง เมื่อต้องการจัดงาน “ทำบุญครบรอบวันตาย” กับเรา
- สถานที่ ที่ต้องการจัดงานทำบุญครบรอบวันตาย และทำบุญครบกี่วัน เช่น 7 วัน, 50 วัน หรือ 100 วัน
- จำนวนแขกที่คาดว่าจะมาร่วมงาน
- อาหารต้องการจัดเลี้ยงพระ หรือ ครอบคลุมถึงแขกที่มาร่วมงานด้วย
- งบประมาณที่ตั้งใจในการจัดงานครบรอบวันตายในครั้งนี้