1. สวดพระอภิธรรมมีกี่แบบ
การสวดอภิธรรมวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างกุศลอุทิศผลบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว…เราจึงขอนำเสนอความรู้เกี่ยวกับการสวดอภิธรรม…โดยนำเสนอแบบภาษาเรียบง่าย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ไม่ยากคะ…สิ่งแรกที่เราควรรู้ก่อนเลยนะคะ คือ ความหมายคำว่า “สวดพระอภิธรรม” ซึ่งประกอบไปด้วย 2 คำดังนี้คะ
คำแรก: สวด หมายถึง การท่องเป็นทำนอง
คำที่สอง: พระอภิธรรม หมายถึง ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่ง
ซึ่งมีความหมายรวมว่า “การท่องธรรมอันประเสริฐเป็นทำนอง” พระอภิธรรม มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า พระอภิธรรมปิฎก ซึ่งพระพระอภิธรรมปิฎก เป็นส่วนหนึ่งของพระพระไตรปิฎก
ซึ่งใจความสำคัญของพระอภิธรรม มี 4 ประการ คือ ธรรมชาติทั้ง 4 ได้แก่
1.จิต 2. เจตสิก 3. รูป 4. นิพพาน และเมื่อนำธรรมชาติทั้ง 4 นี้ มาเมื่อสรุปรวมแล้ว จะเหลือเป็น รูป และ นาม ( จิต, เจตสิก, นิพพาน ) หรือ เข้าใจให้ง่ายที่สุด “ ร่างกาย และ จิตใจ “
- ร่างกาย (รูป) จะประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
- จิตใจ (นาม) จะประกอบไปด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
การสวดพระอภิธรรมในงานศพ จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ที่มาร่วมงานได้เห็นความเป็นจริงของชีวิตตามที่กล่าวมาข้างต้น พระ 4 รูปจึงเท่ากับจำนวนหลักธรรมทั้ง 4 ที่กล่าวมา
การสวดพระอภิธรรมมี 5 แบบ ได้แก่
- สวดพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ ได้แก่ คัมภีร์ธัมมสังคณี, คัมภีร์วิภังค์, คัมภีร์ธาตุกถา, คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ, คัมภีร์กถาวัตถุ, คัมภีร์ยมก และ คัมภีร์มหาปัฏฐาน
- สวดพระสหัสสนัย เป็นการกล่าวถึง อิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
- สวดพระอภิธรรมมัตถสังคหะ
- สวดพระมาลัย
- สวดทำนองหลวง ผู้สวดจะเป็นพระพิธีธรรมที่อยู่เฉพาะวัดหลวง และแต่ละพระอารามหลวง จะมีทำนองในการสวดเป็นของตนเอง ซึ่งจะใช้สวดเฉพาะในงานพิธีศพที่อยู่ในชั้นพระบรมวงศานุวงศ์ หรือพระบรมราชานุเคราะห์ มีพระพิธีธรรม 1 สำรับ (4 รูป) แต่ก็มียกเว้นในงานสวดทั่วไปบางงานที่เจ้าภาพจัดขึ้น
สวดทำนองหลวงโดยสรุปมี 4 ทำนอง คือ
- ทำนองกะ: วัดที่สวดทำนองนี้ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
- ทำนองเลื่อนหรือทำนองเคลื่อน: วัดที่สวดทำนองนี้ เช่น วัดระฆังโฆสิตาราม
- ทำนองลากซุง: วัดที่สวดทำนองนี้ เช่น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
- ทำนองสรภัญญะ: วัดที่สวดทำนองนี้ เช่น วัดบวรนิเวศวิหาร
หมายเหตุ: พระอารามหลวง 10 วัด มีดังนี้ วัดพระเชตุพนฯ, วัดมหาธาตุยุวราชฯ,วัดสุทัศน์ฯ, วัดบวรฯ, วัดสระเกศฯ, วัดจักรวรรดิฯ, วัดประยุรฯ, วัดราชสิทธารามฯ, วัดระฆังฯ และวัดอนงคารามฯ
2. สวดอภิธรรม ทำนองสรภัญญะ
คือ การสวดที่คำสวดชัดเจน มีการเอื้อนทำนองเสียงสูง เสียงต่ำไปพร้อมกับคำสวดนั้น ๆ สรภัญญะ (คำอ่านภาษาไทย: สะระพันยะ/ หรือ /สอระพันยะ ) คือ ทำนองสำหรับสวดฉันท์ เป็นทำนองแบบสังโยค คือ สวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์
สรภัญญะ (อ่านว่า: สะระพันยะ หรือ สอระพันยะ) คือ ทำนองสำหรับสวดฉันท์ เป็นทำนองแบบสังโยค คือ สวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์…การสวดทำนองสรภัญญะมีมานาน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4
และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) องคมนตรีและเจ้ากรมพระอาลักษณ์ …ได้แปลบทสรรเสริญคุณต่าง ๆ เป็นภาษาไทย เรียก “คำนมัสการคุณานุคุณ”
มี 5 ตอน คือ บทสรรเสริญพระพุทธคุณ, บทสรรเสริญพระธรรมคุณ, บทสรรเสริญพระสังฆคุณ,บทสรรเสริญมาตาปิตุคุณ และบทสรรเสริญอาจาริยคุณ ซึ่งบทประพันธ์เหล่านี้ได้รับความนิยมมากที่จนถึงปัจจุบัน …นอกจากบทสรรเสริญพระรัตนตรัยแล้ว ทำนองสรภัญญะยังใช้สวดคาถาบทอื่นอีก เช่น บทแปลคาถาพาหุง
ที่มา: ขอบคุณข้อมูลจาก “wikipedia” ข้อมูลเพิ่มเติม >>> คลิ๊กเลย <<<
3. ตัวอย่าง การ เขียน กำหนดการ สวดพระอภิธรรม
เมื่อมีการงานการบำเพ็ญกุศลศพให้กับผู้วายชนต์ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ต้องทำกำหนดการแสดงรายละเอียด สวดพระอภิธรรม เพื่อแจ้งให้ญาติ หรือผู้ที่มีความประสงค์มาร่วมฟังสวดพระอภิธรรม หรือมาร่วมไว้อาลัยในวันฌาปนกิจทราบ ปัจจุบันจะนิยมส่งกำหนดการแบบออนไลน์ซึ่งมีข้อดีคือ สะดวกและทันท่วงที
รายละเอียด ของกำหนดการควรครอบคลุมเนื้อหา ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่
ส่วนแรก: ระบุประเภทของงาน, ชื่อ ยศ ผู้วายชนม์, สถานที่และที่อยู่ในการตั้งบำเพ็ญกุศลศพ
ส่วนที่สอง: กำหนดการ สวดพระอภิธรรม ของแต่ละวัน
ส่วนสุดท้าย: กำนดการพิธีกรรม งานพราะราชทานเพลิงศพ หรือ งานฌาปนกิจ
ตัวอย่างกำหนดการ สวดพระอภิธรรม
ตัวอย่างกำหนดการ พระราชทานเพลิงศพ
4. คำ กล่าวขอบคุณ งานสวดพระอภิธรรม
หลังจากพระสวดอภิธรรมเรียบร้อยแล้ว พิธีกรดำเนินพิธีการ หรืออาจจะเป็นตัวแทนของครอบครัวผู้วายชนม์ควรมีการกล่าวขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน
ตัวอย่าง:
กระผม/ดิฉัน ในนามตัวแทนของครอบครัว …………กราบขอบพระคุณ ประธานในพิธี ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง………. ที่ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในงานบำเพ็ญกุศลของ………(ชื่อ-สกุล ผู้วายชนต์)
และขอขอบพระคุณ………บริษัทฯ/ ตัวแทนบริษัทฯ / ชื่อ-สกุล ที่ได้ให้เกียรติเป็นเจ้าภาพงานสวดอภิธรรมในค่ำคืนนี้ และที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือ ท่านผู้มีเกียรติ ที่เคารพ ญาติ และมิตรสหายทุกท่าน ที่ได้ให้เกียรติมาร่วมฟัง งานสวดพระอภิธรรม ทําบุญบําเพ็ญกุศล
และได้นําพวงหรีดมาเคารพและไว้อาลัย และร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ณ…………………(ชื่อสถานที่) ซึ่งวันนี้เป็นวันที่…………..ของการบำเพ็ญกุศลของคุณ………(ชื่อ-สกุล ผู้วายชนต์)
ในการนี้หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง หรือมีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าขอน้อมรับและ ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ และขอให้อานิสงส์ผลบุญที่ท่านได้ร่วมทําบุญบําเพ็ญกุศล โปรดอภิบาลรักษา ให้ท่านประสบแต่สิ่งอันเป็นมงคล สมบูรณ์พูนผล พร้อมด้วยจตุรพิธพรชัย ทุกประการ
5. คำอาราธนาสวดพระ อภิธรรม
คำอาราธนาที่มีการใช้ในการสวดพระอภิธรรม จะมี 2 บท คือ อาราธนาศีล และ อาราธนาธรรม
ซึ่งวัดบางแห่งอาจจะไม่มีการอาราธนาธรรม… เราได้รวบรวมไว้ เผื่อผู้ที่สนใจจะได้เป็นข้อมูลเมื่อไปร่วมงานศพในคืนสวดอภิธรรม
บทอาราธนาศีล พร้อมคำอ่าน
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ (อ่านว่า = รัก-ขะ-นัด-ถา-ยะ)
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ (อ่านว่า = ติ-สะ-ระ-เน-นะ)
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ (อ่านว่า = ทุ-ติ-ยำ-ปิ)
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ (อ่านว่า = ตะ-ติ-ยำ-ปิ)
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
บทอาราธนาธรรม พร้อมคำอ่าน
พรหมา จะ โลกาธิปะติ (พรม-มา-จะ-โล-กา-ทิ-ปะ-ติ)
สะหัมปะติ กัตอัญชะลี (สะ-หำ-ปะ-ติ-กัด-ตะ-อัน-ชะ-ลี)
อันธิวะรัง อะยาจะถะ (อัน-ธิ-วะ-รัง-อะ-ยา-จะ-ถะ)
สันธีตะ สัตตาป (สัน-ที-ตะ-สัต-ตา-ปะ)
ปะรักชักขะ ชาติกา เทเสตุ (ปะ-รัก-ชัก-ขะ-ชา-ติ-กา-เท-เส-ตุ)
ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง (ทำ-มัง-อะ-นุ-กำ-ปิ-มัง-ปะ-ชัง)
” จัดงานศพ สวดอภิธรรม 7 คืน ” Ms Funeral services
รายละเอียดพร้อมคำแนะนำตลอดการให้บริการ