จัดงานศพ สวดอภิธรรม 3 คืน
4 ข้อสงสัย…ที่เจ้าภาพจัดงานศพควรทราบ ก่อนจัดงานศพ
4 ข้อสงสัย…ที่เจ้าภาพจัดงานศพควรทราบ ก่อนจัดงานศพ
ในการจัดงานบำเพ็ญกุศล เมื่อเจ้าภาพได้มีการวางแผนเรื่องสถานที่จัดงานศพไว้แล้ว สิ่งที่จะต้องวางแผนต่อไปก็คือ ต้องการตั้งศพบำเพ็ญกุศล เพื่อ สวดอภิธรรมกี่วัน กี่คืนดี ทั้งนี้ทั้งนั้นเราขอให้คำแนะนำคร่าวๆ โดยแยกเป็นประเด็นดังนี้
ในจัดงานศพ แต่ละครั้ง หลายคนมีข้อสงสัยว่ามีค่าใช้จ่ายทั้งหมดเท่าไหร่ จะต้องเตรียมงบประมาณไว้เท่าไหร่ดี ควรเผื่องบประมาณไว้กี่เปอเซ็นต์ดี อันดับแรกเราต้องมาทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนนะคะ เพราะหากเราเข้าใจคำว่า “เจ้าภาพ” ที่ไม่ตรงกันความหมายเปลี่ยนคะ ณ ที่นี่ขอแยกคำว่าเจ้าภาพออกเป็น 2 ความหมายก่อนนะคะ
ความหมายแรก “ เจ้าภาพจัดงานศพ “ ก็คือเจ้าของงานในการจัดงานในครั้งนี้ ซึ่งอาจจะเป็นบุตร-ธิดา หรือบุคคลใกล้ชิดที่สุด หรือ ง่ายๆ ก็ คือ ผู้ที่รับผิดชอบจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงานในครั้งนี้…เราขอนำเสนอตัวเลข ตามประสบการณ์การให้บริการที่ผ่านมานะคะ…เพราะจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น แบบและชนิดของดอกไม้หน้าหีบ หรือดอกไม้หน้าเมรุ ชนิดและแบบของหีบ อาหารที่ใช้รับรองแขก จำนวนแขกที่มาร่วมงาน และปัจจัยอื่นๆประกอบอีกมากมายคะ
ความหมายที่สอง “ เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม “ ในการจัดงานศพ จะมีการตั้งศพเพื่อบำเพ็ญกุศล และมีการสวดอภิธรรมเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา…ซึ่งในแต่ละคืนของการประกอบพิธีกรรม จะมีเจ้าภาพอย่างน้อย 1 คณะ ซึ่งมีวิธีการสังเกตุง่ายๆ ก็คือ จะมีการขึ้นกระดานระบุชื่อไว้ที่หน้าศาลาที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ว่าใครจะเป็นเจ้าภาพในการสวดพระอภิธรรม…ซึ่งการเป็น “เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ค่าใช้จ่าย” ขึ้นอยู่กับทางคณะเจ้าภาพในคืนนั้นๆ ว่า…ต้องการร่วมทำบุญกับเจ้าภาพจัดงานเท่าไหร่ หรือ อาจจะจัดเป็นซองถวายพระที่มาทำพิธีสวดพระอภิธรรมในคืนนั้นๆ ก็ได้ ส่วนจำนวนเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับกำลังศรัทธา
เมื่อในแต่ละคืนมีเจ้าภาพในการสวดอภิธรรมแล้ว…สิ่งที่เจ้าภาพอาจจะมีข้อสงสัยว่า การเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรม จะมี “ขั้นตอนพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม” อย่างไร เจ้าภาพในคืนนั้นจะต้องมีการเตรียมตัวอย่างไร และจะต้องทำอะไรบ้าง เราขอสรุปแบบคร่าวๆตามประสบการณ์การให้บริการที่ผ่านมาดังนี้
หลังจากสวดพระะอภิธรรมครบตามกำหนดตามความตั้งใจของเจ้าภาพจัดงานศพแล้ว วันถัดไปก็จะมีการประกอบพิธีฌาปนกิจ ซึ่งกำหนดการงานฌาปนกิจ จะมีการแจ้งว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และ เมื่อไหร่ ซึ่งจะมีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้ ซึ่งจะมีรายละอียดระบุวัน………เดือน……..ปี และสถานที่
กิจกรรม / ระบุเวลา
เพิ่มเติม: ทางเจ้าภาพจัดงาน ควรจัดเตรียมประวัติของผู้วายชนต์ให้เรียบร้อย และทำยื่นให้พิธีกรเพื่อใช้ดำเนินพิธีการ ก่อนขั้นตอนนำร่างผู้วายชนม์เวียนรอบเมรุ โดยการเขียนด้วยลายลายมือที่อ่านง่าน หรือจัดพิมพ์ ชื่อประธานในพิธีงานฌาปนกิจในครั้งนี้ 1 ท่าน และผู้ที่ให้เกียรติทอดผ้าบังสุกุล ควรใช้คำสะกด ว่าอ่านอย่างไร ควรระบุ ชื่อ ตำแหน่ง ยศ ให้เรียบร้อย โดยเรียงลำดับดังนี้
ลำดับแรก: ชื่อ สกุล ตำแหน่ง หรือ ยศ ทอด พิธีทอดผ้าไตรบังสุกุล ผืนที่ 1
ลำดับที่สองเป็นต้นไป: ชื่อ สกุล ตำแหน่ง หรือ ยศ ทอด พิธีทอดผ้าไตรบังสุกุล ผืนที่ 2, 3, 4, 5
ลำดับสุดท้าย: ประธานในพิธี จะทำหน้าที่ทอดผ้าไตรบังสุกุลผืนสุดท้าย
หลังจากได้นำร่างผู้วายชนม์เวียนรอบเวรุแล้ว ลำดับขั้นตอนการดำเนินพิธีการฌาปกิจ มี 4 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
ขั้นตอนแรก: นำเรียนประวัติผู้วายชนม์ต่อแขกที่มาร่วมงาน
ขั้นตอนที่สอง: พิธีทอดผ้าไตรบังสุกุล
ขั้นตอนที่สาม: เรียนเชิญประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุล
ขั้นตอนที่สี่: นิมนต์พระวางดอกไม้จันทน์ และเชิญแขกที่มาร่วมงานวางร่วมวางดอกไม้จันทน์
ขั้นตอนสุดท้าย: การกล่าวขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน
ซึ่งหากท่านต้องการให้เรา ช่วยประสานงานและดำเนินงานให้ แบบที่เดียวจบ One Stop Services…ทุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องจัดงานศพ ตั้งแต่ทำพิธีเคลื่อนย้ายศพ แต่งหน้า ทำพิธีรดน้ำศพ จัดเตรียมอุปกรณ์งานศพ ต่าง ๆ จัดดอกไม้หน้าศพ เตรียมดอกไม้จันทน์ มัดตราสัง แบบและขนาดของหีบ ทำพิธีเชิญวิญญาณ และอื่นๆ
ติดต่อเราได้เลยค่ะ โทรสอบถามได้ตลอด 24 ชม.
รายละเอียดการดูแลและการให้บริการพร้อมคำแนะนำ ตามรายละเอียดด้านล่างคะ
รายละเอียดพร้อมคำแนะนำตลอดการให้บริการ