ในการขอพระราชทานเพลิงศพ มีด้วยกัน 2 กรณี ดังนี้ คือ
-
พระราชทานเพลิงศพ กรณีปกติ
สำหรับ…ข้าราชการพลเรือน ครู ตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ทหาร ตำรวจยศร้อยตรีขึ้นไป สมาชิกสภาผู้แทนฯ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล / จังหวัด กรณีนี้ไม่ได้เขียนไว้ในระเบียบ
-
พระราชทานเพลิงศพ กรณีพิเศษ
สำหรับ…พนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูง (ระดับ 2) เหรียญกล้าหาญ เหรียญชัยสมรภูมิ (เหรียญราชการชายแดน ) องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเป็นหน่วยงานออกหนังสือรับรองให้ ศิลปินแห่งชาติ นักกีฬาทีมชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนฯ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ผู้บริจาคเงินให้วัด หรือมูลนิธิไม่น้อยกว่า 5 แสนบาท ผู้บริจาคร่างกาย อวัยวะ บิดามารดาของข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป (ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นระดับชำนาญการ) บิดามารดาของพระครูชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป บิดามารดาของข้าราชการทหาร ตำรวจระดับพันโทขึ้นไป
เอกสาร ที่จะต้องเตรียมการขอพระราชทานเพลิงศพ กรณีปกติ
ให้ต้นสังกัดทำเรื่องเสนอเลขาธิการพระราชวัง เอกสารประกอบด้วย
- สำเนาใบมรณะบัตร
- สำเนาทะเบียนผู้ถึงแก่กรรม
- สำเนาบัตรข้าราชการผู้ถึงแก่กรรม
- กำหนดการ (บอกวัน เวลา สถานที่ที่จะฌาปนกิจศพ) ยกเว้น วันศุกร์ วันเฉลิมฯ
- หนังสือกราบบังคมทูลลา
เอกสาร ที่จะต้องเตรียมการขอพระราชทานเพลิงกรณี พิเศษ
ให้บุตรที่เป็นข้าราชการทำเรื่องเสนอเลขาธิการพระราชวังโดยตรง มีเอกสาร
- สำเนาใบมรณะบัตร
- สำเนาทะเบียนผู้ขอพระราชทาน (บุตร)
- สำเนาบัตรข้าราชการผู้ขอพระราชทาน (บุตร)
- กำหนดการ (บอกวัน เวลา สถานที่ที่จะฌาปนกิจศพ) ยกเว้นวันศุกร์ วันเฉลิมฯ
- หนังสือรับรองจากหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษาในกรณีใช้เหรียญกล้าหาญ เหรียญชัยสมรภูมิ (เหรียญราชการชายแดน+ พิทักษ์เสรีชน)
เมื่อได้จัดทำหนังสือนำส่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว…ก็ให้ถือหนังสือเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร โดยไปที่พระบรมมหาราชวัง ในวันเวลาราชการ…เมื่อไปถึงสนามหลวงให้ไปทางด้านมหาวิทยาลัยศิลปากร ถนนหน้าพระลาน เดินข้ามถนนไปประตูที่มีทหารยืนรักษาการณ์อยู่ ประตูที่สอง ถามเขาว่า กองพระราชพิธีอยู่ที่ไหน ก็เข้าไปประตูนั้น (ถ้าไปรถแท็กซี่บอกเขาว่าไปที่วัดพระแก้วจะง่ายกว่า) เสร็จแล้วก็ถือหนังสือไปที่ตึกสารบรรณ เพื่อลงทะเบียนรับ แล้วรอเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ประมาณ 10 นาที เจ้าหน้าที่ก็จะให้ลงชื่อรับหนังสือ แล้วถือไปกองพระราชพิธี ขึ้นไปชั้น 2 เลี้ยวขวาไปห้องสวัสดิการฯ
- ยื่นหนังสือให้เจ้าหน้าที่
- เขียนแบบขอรับหีบเพลิงและหมายรับสั่ง
- จ่ายค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ 50 บาท ถ้าจะขอหมายรับสั่ง ให้มีกำหนดการฌาปนกิจประมาณ 7 – 10 วัน
- เจ้าหน้าที่จะบอกให้ท่านเข้าไปรับหีบเพลิงพระราชทาน จากโต๊ะหมู่ที่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
- วิธีการ ให้ยืนตรงโค้งคำนับ 1 ครั้ง เสร็จแล้วนั่งคุกเข่าข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างก็ไม่เป็นไร ยื่นมือขวาไปข้างหน้าแล้วเอางาน (ยื่นมือไปข้างหน้าลักษณะหัวแม่มืออยู่ด้านบน นิ้วก้อยอยู่ด้านล่าง กระดกข้อมือขึ้น 1 ครั้ง แล้วจับหีบเพลิงโดยให้สี่นิ้วเรียงกันอยู่ด้านล่าง หัวแม่มืออยู่ด้านบน)
- เสร็จแล้วลุกขึ้นยืนตรงโค้งคำนับ 1 ครั้ง แล้วนำหีบเพลิงไปให้เจ้าหน้าที่คนเดิมบรรจุหีบเรียบร้อยแล้วถือกลับออกมา
- เมื่อเดินทางกลับมาถึงจังหวัดก็ให้นำหีบเพลิงพระราชทานไปประดิษฐานที่ ศาลากลาง ที่ว่าการอำเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ตำบล) เทศบาลนคร ( ตำบล) หรือที่บ้านก็ได้…โดยให้ประดิษฐานในที่อันสมควร (บนหิ้ง บนโต๊ะหมู่ชาที่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ หรือโต๊ะที่ปูผ้าขาวรองรับ ไม่ปนกับสิ่งของอื่น ๆ) รอจนถึงกำหนดวันฌาปนกิจก็ค่อยเชิญไปประกอบพิธี
เมื่อมีการจัดงานศพ ในกรณีที่ได้รับพระราชทานเพลิงศพ
ควรทราบอะไรบ้าง…เอ็มเอส-ฟิวเนอรัล ( MS Funeral Services ) ได้รวบรวม และ สรุป 5 ประเด็นที่ควรรู้ ไว้ดังนี้
10 ขั้นตอนพิธีพระราชทานเพลิงศพ น่ารู้
เรามาดูขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการพระราชทานเพลิงกันว่ามีอะไรบ้างนะคะ
- หลักฐานการเสียชีวิต:
1.1 เจ้าภาพนำหลักฐานการเสียชีวิต ไปติดต่อที่กองพระราชพิธี ในพระบรมมหาราชวัง
1.2 เจ้าภาพรับกล่องเพลิงพระราชทาน กับเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรม (ส่วนหน้า) เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ห้องรับรอง อาคารกองพระราชพิธี ในพระบรมมหาราชวัง
-
กล่องเพลิงพระราชทาน:
เจ้าภาพเชิญกล่องเพลิงพระราชทาน แล้วไปตั้งไว้ในสถานที่เหมาะสม เช่น สถานที่ราชการ สถานที่จัดงาน บ้านเจ้าภาพ
หมายเหตุ: ควรตั้งไว้ในที่อันสมควร และต้องมีพานรองรับกล่องเพลิงพระราชทาน โดยจัดโต๊ะปูผ้าขาวสําหรับวางกล่องเพลิงพระราชทานให้เรียบร้อย
- การเชิญกล่องเพลิงพระราชทาน ไปในการพระราชทานเพลิงศพ และข้อพึงปฏิบัติ:
เจ้าหน้าที่ผู้เชิญข้าราชการชาย แต่งกายเครื่องแบบปกติขาว ไว้ทุกข์ และขณะที่เชิญกล่องเพลิงพระราชทาน ไปในการประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ จะต้องระมัดระวังกิริยามารยาท โดยอยู่ในอาการสํารวม ไม่พูดคุย ไม่ต้องทําความเคารพผู้ใด และไม่เชิญกล่องเพลิงพระราชทาน เดินตามหลังผู้หนึ่งผู้ใดเป็นอันขาด
- ข้อพึงปฏิบัติสำหรับแขก:
ระหว่างที่เจ้าหน้าที่เชิญกล่องเพลิงพระราชทาน เดินไปยังเมรุนั้น ผู้ที่มาร่วมงานควรนั่ง อยู่ในความสงบ ไม่ต้องยืนขึ้นไม่ต้องทําความเคารพ และไม่มีการบรรเลงเพลงอย่างใดทั้งสิ้น
-
การตั้งแถวรอรับกล่องเพลิงพระราชทาน:
ผู้ที่ทำหน้าที่ตั้งแถวรอรับ การเชิญกล่องเพลิงพระราชทานเดินไปยังเมรุ ควรจะเป็นเจ้าภาพงาน
– การแต่งกาย ควรแต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม
– รับราชการ ควรจะแต่งกายเครื่องแบบปกติขาว
- พิธีกรดำเนินพิธีการ:
เจ้าภาพ หรือ พิธีกรอ่าน
– หมายรับสั่ง เพื่อแสดงถึงการได้รับพระราชทานเพลิงศพ
– ประวัติผู้วายชนม์ เพื่อประกาศเกียรติคุณ
– สํานึกในมหากรุณาธิคุณ
-
ประธานประกอบพิธีพระราชทานเพลิง:
เมื่อถึงกําหนดเวลาพระราชทานเพลิง ให้เจ้าภาพเชิญแขกมีอาวุโสสูงสุดในที่นั้น เป็นประธาน ประกอบพิธีพระราชทานเพลิง
หมายเหตุ: ผู้มีอาวุโสสูงสุดนั้น หมายถึง อาวุโสทั้งด้านคุณวุฒิและด้านวัยวุฒิ ทั้งนี้หากมีพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ราชสกุลที่มีเกียรติในราชการ ซึ่งผู้วายชนม์หรือทายาทอยู่ใต้ บังคับบัญชา ผู้ที่เคารพนับถือ สมควรเชิญบุคคลนั้นเป็นประธาน และในกรณีประธานเป็นข้าราชการ ให้แต่งกายเครื่องแบบปกติขาว ไว้ทุกข์
-
กำหนดการพระราชทานเพลิงศพ
เมื่อถึงกําหนดวันพระราชทานเพลิงศพ เจ้าภาพต้องจัดเจ้าหน้าที่ หรือ เจ้าภาพมี บุตร หลาน ญาติ ที่เป็นข้าราชการชายแต่งเครื่องแบบปกติขาว ไว้ทุกข์ จํานวน 2 คน
8.1 เจ้าหน้าที่เชิญกล่องเพลิงไปยังเมรุ (กล่องเพลิงพร้อมพานรอง) จํานวน 9 คน
8.2 เจ้าหน้าที่ช่วยปฏิบัติบนเมรุ จํานวน 1 คน
-
ขั้นตอนของประธานในพิธีงานพระราชทานเพลิงศพ:
– ประธานเปิดหีบเพลิง
– หยิบเทียนชนวนมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้เชิญถือไว้
– หยิบกล้องไม้ขีดไฟจุดเทียนขนวน รอจนเทียนสุกไหม้ดีแล้ว
– ผู้เป็นประธานถวายบังคม (ไหว้) ไปที่หน้าทีบเพลิงที่วางอยู่
– หยิบธูป ดอกไม้จันทน์ เทียน จุดไฟหลวงจากเทียนชนวน แล้วจึงวางไว้ใต้กลางฐานตั้งหีบศพ เป็นอันเสร็จพิธี (ปฏิบัติเวลาเชิญประธานขึ้นทอดผ้าไตรบังสุกุลเป็นลําดับสุดท้าย)
- ประธาน
10.1 การปฏิบัติของประธาน…ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ โดยผู้เป็นประธานสามารถเลือกปฏิบัติได้ 2 แบบ ดังนี้
แบบที่1
– ประธานถวายความเคารพไปทางทิศที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ
– หยิบดอกไม้จันทน์จุดไฟพระราชทาน
– วางดอกไม้จันทน์บริเวณจิตกาธาน
– ถวายความ เคารพไปทางทิศที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอีกครั้ง
– คํานับเคารพศพ ก่อนที่จะลงเมรุ
แบบที่2
– ประธานยกมือไหว้
– หยิบดอกไม้จันทน์จุดไฟพระราชทาน
– วางดอกไม้จันทน์บริเวณจิตกาธาน
– คํารับเคารพศพก่อนลงเมรุ
10.2 การปฏิบัติของประธาน…ในกรณีพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพชั้นโกศแปดเหลี่ยม:
กรณีศพที่ได้รับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพชั้นโกศแปดเหลี่ยมจะได้รับ พระราชทานผ้าไตร 5 ไตร หรือบุคคลที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานผ้าไตร
10.3 เจ้าภาพจะต้องจัดหาผ้าไตรแบ่ง จํานวน 5 ไตร เพื่อให้ประธานทอดผ้าไตรบังสุกุล บนเมรุ และจัดเงินถวายพระ โดยกระทรวงวัฒนธรรมจะเป็นผู้นิมนต์พระสงฆ์ขึ้นพิจารณาผ้าไตรบังสุกุล โดยใช้พัดยศ
10.4 ศพที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานผ้าไตรทอดถวายพระสงฆ์บังสุกุลด้วยนั้น ผู้เป็นประธานสามารถปฏิบัติได้ 2 แบบดังนี้
แบบที่1
– ประธานถวายเคารพไปทางทิศที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ
– หยิบผ้าไตรทอดถวายพระสงฆ์บังสุกุล
– เมื่อทอดผ้าเสร็จ แล้วถวายความเคารพไปทางทิศที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอีกครั้ง
แบบที่2
-ประธานยกมือไหว้
-หยิบผ้าไตรทอดถวายพระสงฆ์บังสุกุล
ขั้นตอนพิธีพระราชทานเพลิงศพ
***อยู่ในระหว่างจัดเตรียมข้อมูล***