จัดงานศพ สวดอภิธรรม 5 คืน

Chumphon Ms Funeral services

จัดงานศพ สวดอภิธรรม 5 คืน

ไขข้อข้องใจ 5 คำถาม ยอดนิยมเมื่อต้องเป็นเจ้าภาพจัดงานศพ สวดอภิธรรม 5 คืน

1. สิ่งที่ต้องเตรียม เมื่อมีคนเสียชีวิต

เมื่อเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์อันยากลำบาก คือมีคนเสียชีวิตเกิดขึ้น และกระทันหันเราจะมึนงง…ว่าจะเริ่มจากที่ไหนดี ลำดับการจัดการก่อน-หลัง…อันดับแรกเลย คือ ตั้งสติให้ดี แล้วอ่าน How to ตามลำดับขั้นตอนคร่าวๆ  ซึ่งเราขอให้คำแนะนำ โดยแยกแบ่งตามหัวข้อดังนี้

ด้านเอกสาร

  • ใบมรณะบัตร

เสียกรณีเสียชีวิตที่บ้าน:

ห้ามเคลื่อนย้ายศพเด็ดขาด” หลังเสียชีวิตทันที

(1) โทรแจ้ง: ผู้ใหญ่บ้าน, ตำรวจ หรือโรงพยาบาล เพื่อมาทำการชัณสูตร  และเพื่อพิสูจน์ยืนยันการเสียชีวิต ว่าเป็นการ “ตายโดยธรรมชาติ” ไม่ได้ถูกฆาตกรรมหรือเหตุเสียชีวิตผิดธรรมชาติ

หมายเหตุ: ลักษณะของการเข้าข่ายว่าเป็นการ “ตายโดยผิดธรรมชาติ”

คือ ฆ่าตัวตาย, ถูกผู้อื่นทำให้ตาย, ถูกสัตว์ทำร้ายตาย, ตายโดยอุบัติเหตุ และ ตายโดยยังไม่ทราบสาเหตุ

(2) แจ้งการเสียชีวิต: ภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อขอ “ใบมรณะบัตร”

เสียชีวิตที่ในเขตอำเภอ:  ให้แจ้งการเสียชีวิตที่ผู้ใหญ่บ้าน

หลักฐานที่ท่านจะได้รับคือ ท.ร. 4 ตอนหน้า…หลังจากนั้นแล้ว ให้นำใบไปแจ้งที่เทศบาลเพื่อออกใบมรณบัตร

กรณีที่เสียชีวิตในเขตท้องที่เทศบาล: ท่านต้องทำการแจ้งที่งานทะเบียนของสำนักงานเขต เพื่อขอออกใบมรณบัตร

(3) บุคคลที่มีหน้าที่แจ้งการตาย: เจ้าบ้าน ผู้พบศพ หรือผู้ได้รับมอบหมายให้แจ้งตายแทน

(4) เอกสารที่ใช้: บัตรประชาชนของผู้แจ้ง, บัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี), หลักฐานรับแจ้งตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) (ถ้ามี), สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้เสียชีวิตมีชื่ออยู่ (ถ้ามี) และ พยานบุคคลที่รู้เห็นการเสียชีวิตหรือพบศพ เช่น เพื่อนบ้าน

  • เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง: เช่น ผู้เสียชีวิตเป็นสมาชิกฌาปนกิจ, ผู้เสียชีวิตได้ทำการบริจาคร่างกาย, อวัยวะกับโรงพยาบาลไว้หรือไม่, สิทธิ์ประกันสังคม

กรณีเสียชีวิตที่โรงพยาบาล:

  • โรงพยาบาลจะออกใบรับรองแพทย์ให้กับผู้เสียชีวิต
  • ญาตินำใบรับรองแพทย์ และ บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้เสียชีวิต) ไปยังสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือที่ทำการเขต(อำเภอ) ในเขตที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอออก “ใบมรณะบัตร”
  • หรือทางโรงพยาบาลจะออกใบมรณบัตรให้เอง หรือช่วยดำเนินการให้เพื่ออำนวยความสะดวก แต่ญาติจะต้องนำทะเบียนบ้าน(ผู้เสียชีวิต) ไปให้กับทางโรงพยาบาล เพื่อใช้ในการดำเนินการ

เคลื่อนย้ายร่าง

ในการเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิต หากในพื้นที่ กทม จะมีบริษัทเอกชนให้บริการหลายเจ้ามาก และยังให้บริการคลอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย…ส่วนใหญ่ทางโรงพยาบาลจะมีบริการส่วนนี้ให้หรือมีเบอร์โทรติดต่อผู้ให้บริการ

โดยญาติสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลนั้นๆได้…หรือหากต้องการความสะดวกและลดความยุ่งยาก สามารถโทรหาออแกไนซ์จัดงานศพช่วยดำเนินการให้ทั้งหมด รายละเอียดเพิ่มเติม  >>>คลิ๊ก<<< 

สถานที่จัดงาน

ก่อนที่จะทำการเคลื่อนย้ายร่าง จะต้องทำการจองวัดหรือสถานที่จัดงานให้เรียบร้อย…แนะนำว่า หลังจากเสียชีวิตทันที ควรฝากร่างไว้ที่โรงพยาบาล 1 คืน

เพื่อจะได้มีเวลาจัดการเรื่องสถานที่จัดงานศพ ดอกไม้ประดับหีบ การ์ดเชิญ และ จัดเตรียมอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ในงาน…หรือหากต้องการความสะดวกสามารถโทรหาออแกไนซ์จัดงานศพช่วยดำเนินการให้ทั้งหมด รายละเอียดเพิ่มเติม  >>>คลิ๊ก<<<

2. การแต่งตัวให้ผู้เสียชีวิต

ในการอาบน้ำและแต่งกายให้ผู้เสียชีวิต มุ่งเน้นเรื่องการทำความสะอาดและเพื่อความดูดี…แต่ความเชื่อและธรรมเนียมปฏิบัติยังเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทย…เราจึงได้หยิบยกขั้นตอนที่ผสมผสานกับความเชื่อเพื่อมาเป็นตัวอย่าง เพราะท้ายที่สุดแล้ววัตถุประสงค์ของทั้งหมดทั้งปวงก็เพื่อความสุขใจทั้งผู้ตั้งใจทำให้แก่บุคคลผู้อันเป็นที่รักเป็นครั้งสุดท้าย

การอาบน้ำศพ: เป็นพิธีที่จะต้องทำในขั้นตอนแรก โดยญาติของผู้ตายจะทำการอาบน้ำศพให้ร่างกายสะอาด ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้จากไปสู่โลกอื่นอย่างบริสุทธิ์…ในปัจจุบันหากเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ในส่วนนี้ทางโรงพยาบาลจะแลให้ รวมไปถึงการฉีดน้ำยารักษาสภาพ

หวีผม: การหวีผมศพมีความเห็นที่แตกต่างกัน บางท่านก็ว่าต้องหวีเพียง 3 ครั้ง บางท่านก็ว่าต้องหวีเป็น 2 ซีก คือหวีไปทางด้านหน้าและด้านหลัง แต่ทางภาคอีสานหวีลงอย่างเดียวห้ามหวีขึ้น เมื่อหวีแล้วหักออกเป็น 2 ท่อนทิ้งเลย

แต่งตัวศพ: ด้วยการเอาแป้งน้ำหอมมาทา และประพรมบริเวณใบหน้าตลอดจนทั่วร่างกาย หลังจากนั้นจะนุ่งผ้าให้ศพ ใช้ผ้าขาวนุ่ง 2 ชั้น ชั้นในเอาชายพกผ้านุ่งไว้ข้างหลังแล้วนุ่งทับข้างนอกอีกทีหนึ่ง เอาชายพกไว้ข้างหน้า

การที่นุ่งผ้าเอาชายพกไว้ข้างหลังนับเป็นการนุ่งสำหรับคนตายและการนุ่งเอาชายพกไว้ข้างหน้านั้นนุ่งสำหรับคนเป็น หมายถึง การเกิดต่อไป…การนุ่งผ้าและสวมเสื้อให้ศพ

ในประเพณีและความเชื่อของชาวพุทธนั้น เครื่องนุ่งห่มแต่งตัวศพต้องใช้ของใหม่ ๆ ทุกอย่าง… ไม่ใช่นุ่งขาวห่มขาว เครื่องนุ่งห่มต้องทำตำหนิเสียทุกชิ้น คือฉีกให้เสียหายบ้างเล็กน้อย เวลานุ่งให้กลับทาง เช่น นุ่งผ้าซิ่นก็ต้องกลับทางตีนขึ้นข้างบน เอาหัวซิ่นไว้ข้างล่าง การนุ่งให้เอาชายพกไว้ข้างหลัง

แต่ในปัจจุบัน การแต่งตัวให้ผู้เสียชีวิตได้เปลี่ยนไปค่อนข้างเยอะ เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายทางญาติก็จะเลือกชุดที่ผู้เสียชีวิตชอบหรือเป็นชุดโปรด หรืออาจเป็นชุดใหม่ที่เป็นสีโปรด และจะมีการแต่งหน้าศพทำผมให้ผู้เสียชีวิต เพื่อความดูดีและลดความโศกเศร้าของผู้ที่มาร่วมรดน้ำศพ…และเพื่อเป็นภาพความทรงจำในครั้งสุดท้ายที่งดงาม

ใส่เงินในปากศพ: เงินใส่ปากศพนั้นชาวอีสานนิยมใช้เงินเหรียญ อาจเป็นเหรียญห้าเหรียญสิบ ทางโลกถือว่ามอบให้ผู้ตายเป็นค่าเดินทาง สำหรับเดินทางไปสู่เมืองผีหรือเมืองสวรรค์…ทางธรรม สอนให้รู้จักใช้เงินให้เป็น

ขี้ผึ้งปิดตาปิดปาก: มีการใช้ขี้ผึ้งสีปิดตาปิดปากศพ ความหมายทางโลกคือ ป้องกัน การดูไม่ดี…ทางธรรมถือว่า เป็นการสอนคนเป็นให้รู้จักระวังหรือสำรวมและรักษาตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ อย่าให้ทุกข์เกิดขึ้น

3. สวดวันเดียวเผาค่าใช้จ่าย

สวดวันเดียวค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ? อาจเป็นคำถามที่น่าสงสัยกับใครหลายๆ คน เอ็มเอส-ฟิวเนอรัล…ขอแชร์ประสบการณ์การจัดงานศพวันเดียวเผาว่ามีค่าใช้จ่ายแตกต่างกับการจัด 3, 5 หรือ 7 วันอย่างไร

ที่จริงแล้ว จากประสบการณ์การให้บริการจัดงานศพที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายสุทธิจะไม่แตกต่างกันมากนัก…เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการจัดงานสวดอภิธรรม 3 คืน เพราะค่าใช้จ่ายที่แท้จริงคือ ค่าใช้จ่ายในวันแรก กับ วันฌาปนกิจ…เอ็มเอส-ฟิวเนอรัล ขอสรุปเป็นตัวเลขเพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมชัดขึ้น  

สวดอภิธรรม 1 คืน ค่าใช้จ่าย ประมาณ 11x,xxx บาท

สวดอภิธรรม 3 คืน ค่าใช้จ่าย ประมาณ 17x,xxx บาท

สวดอภิธรรม 5 คืน ค่าใช้จ่าย ประมาณ 21x,xxx บาท

สวดอภิธรรม 7 คืน ค่าใช้จ่าย ประมาณ 24x,xxx บาท

หมายเหตุ: เป็นตัวเลขเปรียบเทียบตัวเลขจากประสบการณ์ในการให้บริการแบบมาตรฐาน ซึ่งตัวเลขจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือองค์ประกอบในการจัดงาน ซึ่งมาจากหลายปัจจัยเช่น

กับพื้นที่ในการจัดงาน ชนิดของหีบ จำนวนแขกที่มาร่วมงานในแต่ละวัน, ความหรูหราของดอกไม้ที่ใช้ประดับหีบ หรือเมรุ และอาหารที่ใช้เลี้ยงหรือรับรองแขก และ ของชำร่วยหรือของที่ระลึกงานศพ

4. พิธีกร งาน สวดพระอภิธรรม กลางคืน

พิธีกรดำเนินพิธีการในคืนสวดพระอภิธรรม เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการจัดงานศพ…เพื่อให้การดำเนินพิธีการเป็นไปอย่างราบรื่น และเป็นขั้นตอน และสามารถควบคุมเวลาของพิธีกรรม

หน้าที่ของพิธีกร งาน สวดพระอภิธรรม กลางคืน โดยสรุปมีดังนี้

  • กล่าวต้อนรับแขกที่มาร่วมฟังสวดพระอภิธรรม
  • เรียนเชิญประธานในพิธีจุดธูปเทียน
  • นำสวดแขกที่มาร่วมงานร่วมกันสมาทานศีล
  • เรียนเชิญประธานและตัวแทน ถวายเครื่องไทยธรรม แด่พระภิกษุสงฆ์
  • กล่าวขอบคุณ, แจ้งกำหนดการวันถัดไป และ กล่าวปิดพิธีกรรมการสวดพระอภิธรรม

5. กำหนดการสวดสวดอภิธรรม เจ้าภาพ

ตัวอย่างการเขียนกำหนดการสวดอภิธรรม คืน เจ้าภาพ

 

กำหนดการสวดอภิธรรม

 ชื่อผู้วายชนต์………………………………………สวดอภิธรรม เวลา……………น.

      (1)                                       (2)                                         (3)

วัน เดือน ปี             ชื่อเจ้าภาพ ที่ 1 + เจ้าภาพร่วม ( ถ้ามี )           เจ้าภาพ

วัน เดือน ปี             ชื่อเจ้าภาพ ที่ 1 + เจ้าภาพร่วม ( ถ้ามี )           เจ้าภาพ

วัน เดือน ปี             ชื่อเจ้าภาพ ที่ 1 + เจ้าภาพร่วม ( ถ้ามี )            เจ้าภาพ

วัน เดือน ปี            เวลา……น. สวดมาติกา บังสุกุล                               

                            เวลา……น. แสดงธรรมเทศนา                                 

                            เวลา……น. ถวายภัตตาหาร                                     

                            เวลา…….น. เคลื่อนย้ายร่าง                                      

                   เวลา…….น. ประชุมเพลิง ณ…………(ระบุสถานที่)

 

ตัวอย่างจริง การเขียนกำหนดการสวดอภิธรรม คืน เจ้าภาพ

Funeral schedule

ในกรณีทางเจ้าภาพต้องการให้เรา ช่วยประสานงานและดำเนินงานให้ แบบที่เดียวจบ One Stop Services…ทุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องจัดงานศพ ตั้งแต่ทำพิธีเคลื่อนย้ายศพ แต่งหน้า ทำพิธีรดน้ำศพ จัดเตรียมอุปกรณ์งานศพ ต่าง ๆ จัดดอกไม้หน้าศพ เตรียมดอกไม้จันทน์  มัดตราสัง แบบและขนาดของหีบ ทำพิธีเชิญวิญญาณ และอื่นๆ

ติดต่อเราได้เลยค่ะ โทรสอบถามได้ตลอด 24 ชม.

เบอร์โทร  เพิ่มLineMs Funeral ส่งข้อความ

emoji gold  ภาพผลงานการให้ บริการ จัดงานศพ>>คลิ๊ก<<    emoji gold

รายละเอียดการดูแลและการให้บริการพร้อมคำแนะนำ 

ตามรายละเอียดด้านล่างคะ 

 

สิ่งที่ต้องเตรียม เมื่อมีคนเสียชีวิต การแต่งตัวให้ผู้เสียชีวิต สวดวันเดียวเผาค่าใช้จ่าย พิธีกร งาน สวดพระอภิธรรม กลางคืน กำหนดการสวดสวดอภิธรรม เจ้าภาพ จัดงานศพ สวดอภิธรรม 5 คืน รายละเอียดพร้อมคำแนะนำตลอดการให้บริการ

  จัดงานศพ สวดอภิธรรม 5 คืน emoji gold

รายละเอียดพร้อมคำแนะนำตลอดการให้บริการ

Ms Funeral Package 5.1
Ms Funeral package 5.2
Ms Funeral Package 5.3
5 night package 5.4
Ms Funeral Package 5.5
Ms funeral package 5.6